วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

จรรยาบรรณในวิชาชีพคอมพิวเตอร์

จรรยาบรรณในวิชาชีพ

จรรยาบรรณ หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบการอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้นเพื่อรักษา และส่งเสริมชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก จรรยาบรรณจึงเป็นหลักความประพฤติของบุคคลแต่ละกลุ่มอาชีพ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีคุณธรรมและจริยธรรม


วิชาชีพ หมายถึง สิ่งที่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งยึดถือว่าองค์ความรู้ หรือความเกี่ยวกับอาชีพของตนมีค่าและพยายามผลักดันให้สาธารณะชนยอมรับสถานภาพอาชีพของตน



จรรยาบรรณพนักงานคอมพิวเตอร์


1. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
2. ไม่ละทิ้งในหน้าที่การงาน

3. ไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับกับผู้อื่น

4. มีความจงรักภักดีต่อองค์กร

5. อุทิศตนให้กับวิชาชีพอย่างเต็มความสามารถ

6. ไม่ทุจริตและคอรัปชั่น

7. มีความรักและศรัทธาต่องานอาชีพ




จรรยาบรรณ สำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต


จรรยาบรรณ สำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ได้บัญญัติไว้ 10 ประการ เป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตยึดถือไว้ เสมือนแม่บทของการปฎิบัติ ผู้ใช้ควรละลึกและเตือนความจำเสมอ


1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น

3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น

4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร

5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ที่สร้างหลักฐานอันเป็นเท็จ

6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์

7. ต้องไม่ละเมิดกรใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์

8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง

9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคม อันติดตามมาจากการทำงานของท่าน

10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยการเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท




อาชญากรรม 6 ประการ


1. การเงิน อาชยากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ
2. การละเมิดลิขสิทธิ์ การคัดลองผลงานที่มีลิขสิทธิ์ การละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆ ที่เกี่ยวกับการใช้อินเตอร์เน็ต เพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงาน

3. การเจาะระบบ การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาติ

4. การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายสร้างความ หวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้าย

5. ภาพอนาจารทางออนไลน์ การเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำผิดกฎหมาย และ การเผยแพร่ข้อมูลภาพลามก อนาจาร ในรูปแบบใด ๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายเช่นกัน

6. ภายในโรงเรียน การกระตุ้นให้เด็กไทยได้เรียนรู้เกียวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเตอร์เน็ตในทางที่ผิด





สรุป


ในการทำงานทุกอาชีพย่อมจะต้องมีจรรยาบรรณที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจให้ทุกคนมีคุณธรรม จริยธรรมอ ใช้เป็นหลักยึดถือในการปฎิบัติงานตามหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพ ปราศจากอคติและข้อครหาใดๆ ในการทำงาน ทำให้ผลงานที่ออกมามีประสิทธิผลสำเร็จได้เป็นอบ่างดี จรรณยาบรรณในแต่ละอาชีพย่อมแตกต่างกันออกไปตามลักษณะงาน แต่รวม ๆ แล้วยมุ่งให้ทุกคนประพฤติปฎิบัติในสิ่งที่ดีงามตามแต่ละอาชีพจะกำหนดขึ้นมาเอง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น